เนื่องจากความต้องการส่งออกเหล็กของจีนจะลดลงและความต้องการด้านการผลิตก็จะได้รับแรงกดดันเช่นกัน โดยในปี 2025 การผลิตเหล็กดิบ (crude steel) ของจีน จะลดลง ประมาณ 37 ล้านตัน เมื่อเทียบปีก่อน อยู่ที่ 968 ล้านตัน แต่การลดลงอาจจะต้องมีมากกว่านี้ [โดยสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีศุลกากรสูงถึง 145%] ซึ่งควรจะเข้าใกล้ 75 ล้านตัน เพื่อให้อุปทานและอุปสงค์อยู่ในสมดุล” โดย Paul Bartholomew นักวิเคราะห์อาวุโสของ Commodity Insights กล่าว
จากการพูดคุยในตลาดระบุว่า จีนกำลังวางแผนที่จะสั่งให้ลดการผลิตเหล็กดิบลง 50 ล้านตันในปี 2025 จากปริมาณของ ปี 2024
อย่างไรก็ตาม ณ วันที่ 10 เมษายน รัฐบาลกลางยังคงนิ่งเฉยต่อมาตรการลดการผลิตเหล็ก ในปี 2025
เนื่องจากโรงงานเหล็กส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังคงดำเนินงานโดยมีผลกำไร โดยกำไรจากการขายเหล็กแผ่นรีดร้อน (hot-rolled coil) มีอัตราอยู่ที่ประมาณ 100-150 หยวน/ตัน ($13.6-$20.4/ตัน) มาร์จิ้นของเหล็กเส้น อยู่ประมาณ 50 หยวน/ตัน อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยของเตา blast furnaces ของจีน สูงถึงประมาณ 90% ในช่วงต้นเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 86 ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ และสูงขึ้นประมาณ 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามแหล่งข้อมูลในตลาด
แหล่งข่าวในวงการการค้าบางรายกล่าวว่า หากพิจารณาถึงแรงกดดันด้านลบที่มีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ในปี 2025 แล้ว ยังคงต้องรอดูว่าจะมีการปรับลดการผลิตเหล็กจากคำสั่งของรัฐบาลหรือไม่
เนื่องจากอุตสาหกรรมการถลุงและแปรรูปโลหะเหล็กคิดเป็น 6.02% ของ GDP ของจีน และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ มีการจ้างงานประมาณ 1.745 ล้านคน โดยลดลง 3.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
อย่างไรก็ตาม พวกเขาเชื่อว่าการผลิตเหล็กที่เพิ่มขึ้นประกอบกับความต้องการที่หดตัว จะส่งผลให้ราคาเหล็กในเดือนเมษายนและพฤษภาคมลดลง ส่งผลให้อัตรากำไรลดลง และส่งผลให้การผลิตเหล็กจะลดลงในอนาคตอันใกล้นี้
ซึ่งจะสอดคล้องกับการคาดการณ์ปริมาณการผลิตเหล็กที่ลดลง แหล่งข่าวเปิดเผยว่า คาดว่าตลาดแร่ เหล็ก(iron ore) จะเข้าสู่ภาวะเกินดุลในช่วงครึ่งหลังของปี 2025 ซึ่งจะส่งผลให้ราคาแร่เหล็กลดลง